• โทรศัพท์: +662 792 0001
  • อีเมล: info@amatafoundation.org
  • เวลาทำการ: 8:30 น. ถึง 17:00 น.

อมตะคาสเซิล

ถือกำเนิดจากแนวคิดศิลปะในยุคสุวรรณภูมิ ดำเนินการก่อสร้างโดย บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก 8 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด 25,315 ตารางเมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ และเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงผลงานทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ ในเอเชีย เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง รวมถึงใช้เป็นสถานที่จัดประชุมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์อีกด้วย

ทางเข้าด้านหน้า

ทางเข้าด้านหน้า

บริเวณทางเข้าด้านหน้า แสดงให้เห็นถึงอาคารทรงยุโรป ที่สร้างขึ้นตามวัฒนธรรมสุวรรณภูมิบวกกับศิลปะของหอยในทะเล จึงออกมาเป็นธรรมชาติบวกศิลปะสุวรรณภูมิ
Ambhitheater
ขนาดพื้นที่ 950 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณสวนด้านหลังคาสเซิล เห็นวิวน้ำตก และทะเลสาบ
โซนสนามหญ้าด้านหน้า
โซนสนามหญ้าด้านหน้า 3,500 ตารางเมตร รองรับจำนวนได้ 5,000 ท่าน

โครงการสร้างศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ และศิลปะแห่งภาคพื้นสุวรรณภูมิ อมตะ คาสเซิล

  • สถานที่ก่อสร้าง - นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี
  • ระยะเวลาออกแบบและดำเนินการก่อสร้าง - เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2545 ถึงปัจจุบัน
  • ลักษณะอาคาร - เป็นหินทราย บนพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร

วัตถุประสงค์ของการสร้างศูนย์จัดแสดงนิทรรศการและศิลปะคาสเซิล

  1. เพื่อเป็นศูนย์จัดแสดงผลงานทางด้านศิลปะ และวัฒนธรรมทุกแขนงของศิลปินในยุคสมัยนี้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย
  2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การละคร และอื่นๆ
  3. เพื่อเป็นสถานที่จัดสัมมนา จัดเลี้ยง ห้องสมุด ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ของมูลนิธิอมตะ
  4. เพื่อส่งผ่านและเป็นสื่อกลางของการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชาวเอเชีย
  5. เป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้นานาชนิด และประติมากรรมกลางแจ้ง

รูปแบบพื้นที่ในอาคารได้ถูกแบ่งโซนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง พื้นที่แสดงนิทรรศการถาวร ของศิลปินที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงการศิลปกรรมอมตะอาร์ตอวอร์ต และพื้นที่แสดงนิทรรศการหมุนเวียน ที่เปิดโอกาสให้้ศิลปินนานาชาติได้ร่วมแสดงผลงาน

นอกจากนี้ มูลนิธิได้วางโครงการความร่วมมือทางด้านศิลปะระหว่างศิลปินจากทั่วทั้งทวีปเอเชีย สำหรับพื้นที่ส่วนที่เป็นผนังหินทรายความยาวต่อเนื่อง 636 เมตร เพื่อมาร่วมกันเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังถ่าย ทอดเรื่องราวในหนังสือ “ผมจะเป็นคนดี” และ “ก่อร่างสร้างธุรกิจ” เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมได้ศึกษาประวัติและประสบการณ์ในชีวิตของวิกรม กรมดิษฐ์ และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป